FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม
เปิดบัญชี
เปิดบัญชีล็อกอิน
เปิดบัญชี

05 ก.ค. 2025

จิตวิทยา

ความเกลียดชังการสูญเสียและผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุน

ความเกลียดชังการสูญเสียคืออะไรและเหตุใดจึงสำคัญ?

ไม่มีใครชอบขาดทุน นักลงทุนจำนวนมากจึงพยายามหลีกเลี่ยงการขาดทุนอย่างถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม ความเกลียดหรือกลัวการขาดทุน (Loss Aversion) ก็เป็นสาเหตุของข้อผิดพลาดในการซื้อขายส่วนใหญ่ นักลงทุนมักให้ความสำคัญกับการขาดทุนมากกว่ากำไรที่มีมูลค่าเท่ากัน ซึ่งส่งผลเสียต่อการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล

ผู้เล่นในตลาดทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเทรดรายวันหรือผู้จัดการพอร์ตของสถาบันขนาดใหญ่ ต่างก็ต้องเคยเห็นสถานะติดลบ (อยู่ในสีแดง) บนหน้าจอบ้างเป็นครั้งคราว การขาดทุนเป็นเรื่องธรรมดาและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยสิ้นเชิง สิ่งสำคัญคือคุณต้องรู้ว่าการขาดทุนเกิดจากอะไร และเรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยงในอนาคต

คำจำกัดความและที่มา

ความเกลียดชังหรือกลัวการขาดทุน (Loss Aversion) เป็นปรากฏการณ์ที่ค้นพบในปี 1979 โดยนักจิตวิทยา Daniel Kahneman และ Amos Tversky ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี “Perspective Bias” ที่เปลี่ยนแปลงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์อย่างมาก งานวิจัยของพวกเขาชี้ให้เห็นว่า ผลทางจิตวิทยาจากการสูญเสียเงิน 100 ดอลลาร์ รุนแรงกว่าความรู้สึกยินดีจากการได้กำไร 100 ดอลลาร์ในจำนวนที่เท่ากัน กล่าวคือ มนุษย์รู้สึกเจ็บปวดจากการขาดทุนมากกว่าความพึงพอใจที่ได้จากกำไรที่เท่ากัน

การวัดค่าความไม่สมดุลที่เกิดจากความกลัวการขาดทุน พบว่าอยู่ที่ประมาณ 2 ต่อ 1:

มูลค่าทางจิตใจของการขาดทุน มีค่ามากกว่ากำไรที่เท่ากันประมาณสองเท่า

งานวิจัยในเวลาต่อมาได้ยืนยันผลลัพธ์เหล่านี้ในวัฒนธรรมอื่น ๆ และประเภทสินทรัพย์ที่หลากหลาย แสดงให้เห็นว่าอคติในจิตใจมนุษย์นั้นฝังลึกและคงอยู่เสมอ เราสามารถเห็นความไม่สมดุลนี้ได้ทั้งบนหน้าจอของแพลตฟอร์มการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อย และในห้องประชุมของนักลงทุนสถาบัน ความไม่สมดุลนี้ส่งผลต่อการจัดสรรสินทรัพย์ งบประมาณความเสี่ยง และแม้แต่การวางกลยุทธ์ในระดับมหภาค

คำจำกัดความและที่มา

ผลกระทบของความกลัวการขาดทุนต่อการตัดสินใจลงทุน

ในระดับพอร์ตการลงทุน ความกลัวการขาดทุน (Loss Aversion) ทำให้เกิดพฤติกรรมที่เรียกว่า Disposition Effect ซึ่งหมายถึงการที่นักลงทุนมักถือสินทรัพย์ที่ขาดทุนไว้นานเกินไป และขายสินทรัพย์ที่ได้กำไรเร็วเกินไป

พฤติกรรมนี้บิดเบือนการกระจายกำไรในระยะยาว และส่งผลเสียต่อความสามารถในการทำกำโรรวม อคตินี้ยังทำให้นักลงทุนซื้อขายมากเกินไปอีกด้วย เช่น เมื่อนักลงทุนปิดสถานะที่ขาดทุน พวกเขาอาจรีบเปิดสถานะใหม่เพื่อพยายามเอาทุนคืนทันที ซึ่งการกระทำแบบนี้อาจนำไปสู่การขาดทุนที่มากขึ้น และเสียค่าคอมมิชชันเพิ่มโดยไม่จำเป็น

เมื่อเทรดเดอร์พยายามหลีกเลี่ยงความเสียใจเสียดายอย่างสุดโต่ง สถานการณ์อาจแย่ลงอีก พวกเขาอาจหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ หรือสินทรัพย์ที่ไม่เป็นที่นิยม เพราะการตัดสินใจผิดนั้นไม่อาจยอมรับได้

นักลงทุนสถาบันก็ไม่ต่างกัน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอาจลดขีดจำกัดมูลค าของความเสี่ยง (Value-at-Risk (VaR)) สำหรับตลาดที่ผันผวน ไม่ใช่เพราะความผันผวนเป็นสิ่งจำเป็นเท่านั้น แต่เพราะพวกเขายังจำความเจ็บปวดจากความรุนแรงของตลาดในอดีตได้ พฤติกรรมนี้ส่งผลเสียต่อการกระจายความเสี่ยงของพอร์ต จำกัดโอกาส และลดการเติบโตโดยรวมในระยะยาว

ตัวอย่างในการซื้อขายจริง

การยึดถือสถานะที่ขาดทุน

ตัวอย่างที่พบบ่อยคือการถือครองสถานะที่ขาดทุนเอาไว้ นักลงทุนบางคนอาจเก็บสินทรัพย์ที่มูลค่าลดลงไว้ โดยหวังว่ามันจะฟื้นกลับมาในอนาคต นี่เรียกว่า "การเสียดายต้นทุนจม" (Sunk Cost Fallacy)

การขายหมายถึงการยอมรับความขาดทุน และการขาดทุนก็เป็นสิ่งที่เจ็บปวดเกินจะทนรับไหว! ดังนั้นนักลงทุนจึงมักจะถือสินทรัพย์ที่ขาดทุนนานเกินไป และบางครั้งก็อาจขาดทุนมากขึ้นในท้ายที่สุด

การขายทำกำไรเร็วเกินไป

ความกลัวการขาดทุนยังทำให้นักลงทุนขายทำกำไรเร็วเกินไป เช่น คุณซื้อสินทรัพย์ที่ราคา $50 โดยคาดว่าจะขึ้นไปถึง $60 แต่กลับขายที่ $55 เพราะกลัวว่ากำไรเล็กน้อยนี้จะหายไป

เมื่อคุณกลัวการสูญเสียมากกว่าที่คุณรู้สึกดีกับกำไร คุณก็จะปิดการซื้อขายทันทีที่เห็นกำไรเล็กน้อย และพลาดโอกาสที่จะทำกำไรได้มากกว่า

ความกลัวความเสี่ยง

อีกตัวอย่างหนึ่งคือเมื่อเทรดเดอร์ไม่กล้ารับความเสี่ยงแม้ในกรณีที่จำเป็น เทรดเดอร์อาจไม่เปิดการซื้อขายที่ออกแบบมาอย่างดีเพราะกลัวขาดทุน แม้ว่าการวิเคราะห์จะบ่งชี้ว่ามีโอกาสทำกำไรได้ อคตินี้อาจทำให้พลาดโอกาสและได้รับผลตอบแทนที่ต่ำลง

กลยุทธ์เพื่อเอาชนะความเกลียดชังการสูญเสีย

แม้ว่าความกลัวการขาดทุนจะเป็นเรื่องธรรมชาติและได้รับการพิสูจน์จากงานวิจัยหลายชิ้น แต่ก็มีขั้นตอนปฏิบัติที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดผลกระทบของมันต่อการตัดสินใจของคุณ การตั้งกฎไว้ล่วงหน้าและการมีวินัยเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

แผนการลงทุนที่ยึดตามกฎช่วยส่งเสริมความเป็นกลางในการตัดสินใจ

ตัวอย่างเช่น คุณตั้งกฎไว้ว่า หากราคาสินทรัพย์ลดลง 7% จากราคาที่คุณซื้อ คุณจะปิดสถานะทันทีไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในทางกลับกัน คุณอาจตั้งจุด Take-Profit หรือใช้ Trailing Stop เพื่อรักษากำไร

เคล็ดลับเพื่อลดผลกระทบของความเกลียดกลัวการสูญเสีย

  • ใช้คำสั่ง Stop Loss และตั้งระดับปิดสถานะไว้ล่วงหน้าสำหรับทุกการซื้อขาย คำสั่งหยุดขาดทุน (Stop Loss) จะขายสินทรัพย์ให้โดยอัตโนมัติเมื่อราคาลดลงถึงระดับที่กำหนดไว้ ทำให้คุณตัดขาดทุนแทนที่จะถือครองสถานะที่ขาดทุนต่อไปเพราะความหวังหรือความกลัว

  • ปฏิบัติตามกฎการออกจากการซื้อขายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อกำจัดอารมณ์ในการตัดสินใจ คุณควรทำตามแผนที่วางไว้ ไม่ใช่ตามความกลัวการขาดทุนของตัวเอง กำหนดกฎของคุณให้ไม่สามารถเจรจาเปลี่ยนแปลงได้ และยึดมั่นในกฎนั้น สิ่งนี้จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงความขัดแย้งภายในที่เกิดจากความไม่สามารถยอมรับความขาดทุนในสถานะที่ขาดทุนได้

  • วิเคราะห์การซื้อขายทุกครั้งหลังเทรดเสร็จ เพื่อดูว่าความกลัวการขาดทุนมีผลต่อการกระทำของคุณหรือไม่ และเสริมสร้างนิสัยที่ดี

  • กระจายพอร์ตการลงทุนเพื่อจำกัดผลกระทบจากสถานะขาดทุนเพียงสถานะเดียว

  • สร้างวินัยในการลงทุนเพื่อเอาชนะความกลัวการขาดทุน

  • พัฒนาการตระหนักรู้ในตัวเองด้วยการจดบันทึกการซื้อขาย

การจดบันทึกการซื้อขายช่วยพัฒนากลยุทธ์ของคุณได้อย่างไร

ใช้สมุดบันทึกการซื้อขายของคุณเพื่อจดบันทึก:

  • การซื้อขายแต่ละครั้ง

  • เหตุผลที่เข้าเทรด

  • จุดที่ตั้งใจจะออกจากการซื้อขาย

  • ความรู้สึกของคุณ

หากคุณบันทึกเหตุผลในการกระทำและผลลัพธ์ แล้วกลับมาทบทวนสมุดบันทึกบ้างเป็นระยะ คุณจะเริ่มรู้จักรูปแบบพฤติกรรมของตัวเอง รวมถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความขาดทุน เช่น คุณอาจสังเกตได้ว่าคุณมักตั้งคำถามกับตัวเองว่า ควรขายสินทรัพย์ที่ราคากำลังลดลงหรือไม่ หรือควรล็อกกำไรก่อนเวลาหรือเปล่า การรับรู้ถึงนิสัยเหล่านี้คือก้าวแรกในการแก้ไข

สรุปใจความสำคัญ

ตลาดให้รางวัลกับความมีวินัย ไม่ใช่ความกล้าหาญเกินเหตุ ความเกลียดกลัวการขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของจิตวิทยามนุษย์ แต่คุณสามารถหยุดไม่ให้มันควบคุมการตัดสินใจซื้อขายแต่ละครั้งได้ หากคุณเข้าใจความไม่สมดุลของความสำคัญระหว่างการขาดทุนและกำไร และนำเครื่องมือกับรูปแบบการปฏิบัติมาใช้เพื่อลดผลกระทบของความกลัวการขาดทุนในการเทรดของคุณ

แน่นอนว่าถ้าคุณเอาชนะอคตินี้ได้ อาจไม่ใช่การวางรากฐานสำหรับกำไรระยะยาวโดยตรง แต่จะช่วยตัดปัจจัยสำคัญที่มักทำลายความสามารถในการทำกำไรของคุณออกไปได้

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก

FBS ณ สื่อสังคมออนไลน์

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon

ติดต่อเรา

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
Google Play

การซื้อขาย

บริษัท

เกี่ยวกับ FBS

ผลกระทบต่อสังคมของเรา

เอกสารทางกฎหมาย

ข่าวเกี่ยวกับบริษัท

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้

ศูนย์ช่วยเหลือ

โปรแกรมพันธมิตร

เว็บไซต์นี้ดำเนินการโดย FBS Markets Inc. หมายเลขจดทะเบียน 000001317 ซึ่ง FBS Markets Inc. ได้รับการจดทะเบียนโดย Financial Services Commission ภายใต้พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ฯ 2021 (Securities Industry Act 2021) ใบอนุญาตเลขที่ 000102/31 ที่อยู่สำนักงาน: 9725, Fabers Road Extension, Unit 1, Belize City, Belize

โดย FBS Markets Inc. ไม่ได้ให้บริการทางการเงินแก่ผู้อยู่อาศัยในเขตอำนาจศาลบางแห่ง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง: สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, สหราชอาณาจักร, อิสราเอล, สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, เมียนมาร์

ธุรกรรมการชำระเงินได้รับการจัดการโดย HDC Technologies Ltd.; Registration No. HE 370778; Legal address: Arch. Makariou III & Vyronos, P. Lordos Center, Block B, Office 203, Limassol, Cyprus ที่อยู่เพิ่มเติม: Office 267, Irene Court, Corner Rigenas and 28th October street, Agia Triada, 3035, Limassol, Cyprus

เบอร์ติดต่อ: +357 22 010970 เบอร์ติดต่อเพิ่มเติม: +501 611 0594

สำหรับความร่วมมือ กรุณาติดต่อเราผ่าน [email protected]

คำเตือนเรื่องความเสี่ยง: ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขาย คุณควรเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดสกุลเงินและการซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้นอย่างถ่องแท้ และคุณควรตระหนักถึงระดับประสบการณ์ของตนเอง

การคัดลอก การทำสำเนา การเผยแพร่ รวมถึงแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตของเนื้อหาใดๆ จากเว็บไซต์นี้สามารถดำเนินการได้เฉพาะเมื่อได้รับการอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การชี้แนะ หรือการชักชวนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น